มาทำความรู้จักกับปุ๋ยเคมีกันดีกว่า
ReadyPlanet.com
dot
bulletโปรโมชั่น
bulletเข้าสู่ระบบ
bulletสมัครสมาชิก
การรับประกันสินค้า
dot
ตระกร้าสินค้า
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน
dot
ค้นหาสินค้า

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า

  [Help]
dot
dot
อีเมล์

dot
หมวดสินค้า
เครื่องยนต์อเนกประสงค์
เครื่องตัดหญ้า
เครื่องพ่นยา
เครื่องปั่นไฟ
ปั๊มน้ำ เครื่องสูบน้ำ
เครื่องตัดแต่งกิ่งไม้
เครื่องเจาะดิน
เครื่องมือฮาร์ดแวร์
แม่แรงยกรถ
เอ็นตัดหญ้า กระปุกเอ็นตัดหญ้า
สินค้าอื่นๆ
line id @vigotech
แจ้งชำระเงิน
โปรโมชั่นประจำเดือน
clinton
กิจกรรมของบริษัท
วีดีโอการใช้งาน
รีวิวสินค้าจากลูกค้า
ข่าวเกี่ยวกับเกษตรกรรม
ขนส่งเคอรี่ kerry
bulletเงื่อนไขการรับประกันสินค้า
คู่มือการใช้งานเครื่องพ่นยาสะพายหลังแบตเตอรี่และมือโยก


เครื่องมือการเกษตรและอุปกรณ์การเกษตร


มาทำความรู้จักกับปุ๋ยเคมีกันดีกว่า article

 มาทำความรู้จักกับปุ๋ยเคมีกันดีกว่า

ความเป็นมาของปุ๋ยเคมี

1. เมื่อก่อนดินเสื่อมโทรมแก้ไขด้วยการย้ายที่ปลูก
ก่อนนั้น ปุ๋ยที่เกษตรกรรู้จักก็คือ ปุ๋ยคอก เช่น มูลเป็ด มูลไก่ มูลวัว ฯลฯ ซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ การเพาะปลูกข้าว พืชไร่ และไม้ผลจะไม่ค่อยมีการใช้ปุ๋ย ทั้งนี้เนื่องจากดินของเรายังมีความอุดมสมบูรณ์สูง เมื่อพบว่าดินเริ่มจะเสื่อม ผลผลิตลดลง ก็จะย้ายที่เพาะปลูกใหม่ โดยการเปิดป่า หักร้างถางพง ทำเช่นนี้ติดต่อกันมาช้านาน
ในระยะ 40 ปีที่ผ่านมา ไม่มีผืนป่าเหลือให้หักร้างถางพงเพื่อเปิดที่เพาะปลูกใหม่ได้อีกแล้ว การเพาะปลูกพืชจึงถูกจำกัดอยู่กับการปลูกพืชซ้ำที่เดิม ดินก็เริ่มเสื่อมโทรม โดยเฉพาะความอุดมสมบูรณ์หรือปริมาณธาตุอาหารพืชในดินหมดไป ผลผลิตพืชจึงลดลง

 

2. เริ่มการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ (ปุ๋ยเคมี) ปรับปรุงบำรุงดิน
เกษตรกรรู้จักใช้ปุ๋ยเคมีมานานกว่า 70 ปี ซึ่งตอนนั้นเกษตรกรจะเรียกว่า ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ตัวแรกที่รู้จักกันคือ ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนเป็นหลัก และนำมาใช้กับพืชผักสวนครัวเป็นส่วนใหญ่ ในยุคนั้นเกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์พวกปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักเป็นหลักในการปรับปรุงบำรุงดิน แต่มีความยากลำบากในการหามาใช้ให้เพียงพอกับพื้นที่ที่เพาะปลูกอยู่ จึงต้องหันมาใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยมีพ่อค้านำเข้าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตจากต่างประเทศมาขาย และการใช้ปุ๋ยดังกล่าวก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

 

3. กระทรวงเกษตรฯ เริ่มส่งเสริมการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในนาข้าว โดยการให้ความรู้กับเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาให้รู้จักใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยศึกษาทดลองกับการปลูกข้าว อีกทั้งยังได้รับความช่วยเหลือด้านการศึกษาและส่งเสริมการใช้ปุ๋ยกับนาข้าวจากผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐอเมริกา ภายใต้องค์กรให้ความช่วยเหลือที่เรียกว่า ยูซ่อม และต่อมาก็เปลี่ยนเป็น ยูเสด ซึ่งได้นำปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต สูตร 16-20-0 เข้ามาทดลองใช้กับการปลูกข้าว ปรากฎว่าได้ผลดีมาก และดีกว่าการใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ทั้งนี้เนื่องจากปุ๋ย 16-20-0 มีทั้งธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ซึ่งสอดคล้องกับสภาพการขาดแคลนธาตุอาหารของดินในที่นาของประเทศไทย ซึ่งพบว่าขาดธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ส่วนโพแทสเซี่มในดินนาของไทยมีอยู่แล้วอย่างเพียงพอ เกษตรกรจึงเริ่มรู้จักและตื่นตัวในการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น พ่อค้าก็มองเห็นโอกาสในการเปิดตลาดค้าปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จึงมีการนำเข้ามาจำหน่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันหลายสิบล้านตันต่อปี

 

4. เมื่อ “ปุ๋ยวิทยาศาสตร์” เปลี่ยนชื่อเป็น “ปุ๋ยเคมี
ต่อมามีการก่อสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดย “บริษัทปุ๋ยเคมี” เกิดขึ้น ซึ่งผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซับเฟตและยูเรียจากถ่านหินลิกไนต์ที่ลำปาง และให้รัฐบาลทำการผูกขาดการผลิตและการตลาดไว้กับบริษัทปุ๋ยเคมีแต่เพียงผู้เดียว การผูกขาดตลาดปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตและยูเรียมีผลทำให้พ่อค้าหันมาต่อต้าน และหันมานำเข้าปุ๋ยคอมปาวด์สูตร NP และ NPK เช่น 16-20-0 และ 15-15-15 มาจำหน่ายแทน ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตและยูเรีย ในที่สุดบริษัทปุ๋ยเคมีก็ขาดทุน และเลิกกิจการไป แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกษตรกรรู้ว่า ปุ๋ยวิทยาศาสตร์นั้นมีอยู่หลากหลาย ไม่ใช่มีแต่ปุ๋ย N เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปุ๋ย NP และ NPK สูตรต่างๆ ซึ่งใช้ได้ผลดีกว่า เกษตรกรจึงหันมาใช้ปุ๋ย NP และ NPK เพิ่มมากขึ้นแทนที่จะใช้แต่ปุ๋ย N อย่างเดียว

ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ถูกเรียกชื่อว่าปุ๋ยเคมีอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้ตรา พ.ร.บ. ปุ๋ย 2518 ขึ้น โดยบัญญัติปุ๋ยประเภทนี้ว่า “ปุ๋ยเคมี” และกำหนดให้กระสอบที่บรรจุปุ๋ยประเภทนี้จะต้องพิมพ์คำว่า “ปุ๋ยเคมี” ไว้ให้เห็นเด่นชัด จังมีการใช้คำว่า “ปุ๋ยเคมี” กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการควบคุมให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ปุ๋ยและในด้านวิชาการ รวมทั้งในตำราดินและปุ๋ยทั้งหลาย ฯลฯ ตั้งแต่นั้นมา


5. แม่ปุ๋ยเคมี เป็นสารประกอบทางเคมี ผลิตจากแร่และอากาศที่มีอยู่ในธรรมชาติ

ปุ๋ยเคมีเป็นสารประกอบทางเคมีเช่นเดียวกับเกลือแกง ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ ได้มาจากน้ำทะเลแล้วเอามาทำให้แห้งจนได้ผลึกเกลือแกงที่เรียกว่า “เกลือสมุทร” หรือมาจากแร่พวกหินเกลือที่อยู่ใต้ดินแล้วนำมาแยกเอาสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักออกมา ก็จะได้เกลือแกงที่เราเรียกว่า “เกลือสินเธาว์” ปุ๋ยเคมีที่เรียกว่าปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ก็เช่นเดียวกัน ได้มาจากแร่โพแทชที่อยู่ใต้ดินเช่นเดียวกับแร่หินเกลือ โดยมีสารประกอบโพแทสเซียมคลอไรด์เป็นองค์ประกอบหลัก นำมาแยกเอาโพแทสเซียมคลอไรด์อกมาก็เรียกว่า “ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์” หรือ “มิวริเอตออฟโพแทช” (MOP) จะมีโพแทสเซียม (K2O) ประมาณ 60% มีสูตร 0-0-60
ส่วนปุ๋ยฟอสเฟต ซึ่งให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัส เป็นสารประกอบพวกแคลเซียมฟอสเฟต ได้มาจากการที่เอาแร่ที่เรียกว่าหินฟอสเฟตมาบดให้ละเอียดมากๆ แล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยโดยตรงที่เราเรียกว่า “ปุ๋ยหินฟอสเฟต” แต่ปุ๋ยหินฟอสเฟตเมื่อใส่ลงไปในดินจะละลายยากจึงให้ธาตุอาหารฟอสเฟตน้อยมาก เมื่อเอาหินฟอสเฟตมาทำปฏิกิริยากับกรดจะทำให้แคลเซียมฟอสเฟตละลายน้ำได้ง่ายขึ้น จึงเป็นประโยชน์แก่พืชได้มากและเร็ว เรียกปุ๋ยฟอสเฟตประเภทนี้ว่า “ซูเปอร์ฟอสเฟต” ต่อมามีการพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยฟอสเฟตเพื่อให้ละลายน้ำได้ง่ายขึ้น จนกลายเป็นปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟตชนิดต่างๆ ซึ่งนอกจากจะละลายน้ำง่ายแล้ว ยังให้ธาตุอาหารได้ทั้งฟอสฟอรัสและไนโตรเจน
สำหรับปุ๋ยไนโตรเจน เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต และยูเรีย ธาตุไนโตรเจนในปุ๋ยเหล่านี้จะได้มาจากก๊าซไนโตรเจนจากอากาศมาทำปฎิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจน ได้ก๊าซแอมโมเนีย จากนั้นก็นำไปผลิตเป็นสารประกอบแอมโมเนียมซัลเฟตและยูเรียเป็นปุ๋ยไนโตรเจนต่อไป

 

6. จากแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม นำมาผสมเป็นปุ๋ยสูตรต่างๆ 
ปุ๋ยเคมีที่ได้จากกระบวนการผลิตดังกล่าวเรียกว่า “แม่ปุ๋ย” สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยใส่ลงในดินให้ธาตุไนโตรเจน ฟอสเฟต และโพแทสเซียมแก่พืชได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะนำมาผสมกันเป็นปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ เพื่อให้มีทั้งธาตุ NP และ NPK อยู่ร่วมกันในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมกับดินและพืชที่ปลูก
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ปุ๋ยเคมีก็เป็นสารประกอบทางเคมีที่เรารู้จักคุ้นเคยในการใช้ประโยชน์เป็นอาหารและยารักษาโรคในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ซึ่งไม่มีส่วนไหนเลยที่จะเป็นสารพิษและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้
ทุกครั้งที่มีการปลูกพืชและเก็บเกี่ยวผลผลิตขายออกไปจากไร่นา ธาตุอาหารที่ติดไปกับผลผลิตจะไม่มีโอกาสกลับคืนสู่ไร่นาอีก จึงสูญเสียไปจากดินอย่างถาวร ส่วนธาตุอาหารที่อยู่ในต้น ราก และใบจะมีโอกาสกลับคืนมาสู่ดินได้อีกในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอก จึงเห็นได้ว่าเป็นการส่งคืนธาตุอาหารกลับสู่ดินเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นจากทั้งหมดที่พืชดูดดึงขึ้นไปจากดิน
จะเห็นได้ว่า ถ้าไม่ต้องการให้ดินขาดดุลธาตุอาหารจำเป็นจะต้องคืนทุกส่วนของพืชที่เป็นต้น ราก และใบ ทั้งหมดกลับสู่ดินในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ และจะต้องชดเชยส่วนของธาตุอาหารที่ติดไปกับผลผลิตกลับคืนให้ครบถ้วนด้วย การใส่ปุ๋ยเคมีให้กับดินเพื่อให้เพียงพอสำหรับการปลูกพืชในครั้งต่อไปจึงเป็นหลักการจัดการปรับปรุงบำรุงดินที่ถูกต้องและยั่งยืน
ดังนั้นคำแนะนำที่ถูกต้องก็คือ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้มากและติดต่อกันยาวนานเท่าที่จะทำได้ เพราะนอกจากจะได้ธาตุอาหารคืนมาบางส่วนแล้วยังทำให้สภาพทางกายภาพและทางเคมีของดินดีขึ้นเรื่อยๆ และพร้อมกันนั้นต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อชดเชยส่วนของธาตุอาหารที่สูญเสียไปอย่างถาวรกับผลผลิตที่ขายออกไป และในที่สุดการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าวจะทำให้ปุ๋ยเคมีที่ใช้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลงแต่ยังคงได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างเต็มที่เหมือนเดิม

 

ติดตามความรู้ด้านการเกษตรดีๆได้ที่ กลุ่มเกษตรก้าวใหม่ cr.Rakkaset Nungruethail 

 




ข่าวเกษตรน่ารู้

เทคนิคการปลูกและวิธีเพาะพันธุ์ผักหวานป่า ให้เจริญงอกงาม
การปลูกไผ่ตง พืชอเนกประสงค์สารพัดประโยชน์ เป็นที่ต้องการของตลาด
วิธีปลูกมะพร้าวน้ำหอม ให้มีรสชาติหวานกลมกล่อม และมีกลิ่นหอมชื่นใจ
วิธีการทำปุ๋ยชีวภาพ และ ปุ๋ยพืชสด
การเพาะปลูกและขยายพันธุ์พืช การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วิธีทำ สารกำจัดศัตรูพืช น้ำส้มควันไม้ (Wood Vinegar)
วิธีทำ สมุนไพรขับไล่แมลง แบบต่างๆ
การเลี้ยงกบ เพื่อเลี้ยงชีพ และ การเตรียมบ่อพัก
6 ขั้นตอน การทำนาข้าวอินทรีย์ ปลอดสารพิษ
ขั้นตอนวิธีทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ และ การใช้ประโยชน์
ขั้นตอนการทำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยตนเอง
ขั้นตอนวิธีทำ การเผาถ่านไม้ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงภายในครัวเรือน
น้ำสกัดชีวภาพ คืออะไร และการทำน้ำสกัดชีวภาพ แบบต่างๆ
งานเกษตรแฟร์ 2563 นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรไทยยั่งยืน
เกษตรกรจังหวัดพะเยา "ปลูกแตงโม" บนเนื้อที่ 13 ไร่ สร้างรายได้ปีละ 300,000
เกษตรกร จ.ราชบุรี จับกลุ่มปลูกองุ่นไร้เมล็ด เชิญชวนชิมสดจากไร่
เห็ดมิลค์กี้ พืชเศรษฐกิจใหม่ สร้างรายได้เสริม กก. ละ 1,000 บาท เพาะง่ายรายได้ดี
งานเกษตรแฟร์ 2562
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิปลูกง่าย ตลาดต้องการสูง article
งานเกษตรแฟร์ 2561 กับแนวคิดร่วมกันก้าวไป วันที่ 26 ม.ค. - 3 ก.พ article
คึกคักสุดๆ!! ชมชิมช้อป ทุเรียน มังคุด ชั้นหนึ่ง เมืองจันท์
ถั่วพู ผักพื้นบ้านปลูกง่ายสร้างรายได้งาม ดีกว่าถั่วเหลือง
ปลูกเมลอนขายในโซเชียล ขายดีจนต้องจองล่วงหน้า!
เทปน้ำหยด นวัตกรรมช่วยเหลือเกษตรกร
[อบรมฟรี] สวนเกษตรดาดฟ้าหลักสี่อบรมฟรี ปลูกผักปลอดสารพิษ
เทคนิคการปลูกพืชคลุมดิน
Review ตลับเอ็นตัดหญ้า จากการใช้งานจริง by Alcidini Winery ไร่ไวน์อัลซิดินี่
งาน Organic & Natural Expo 2015
เห็ดโต่งฝน เห็ดเศรษฐกิจตัวใหม่จากประเทศเพื่อนบ้าน
ผักบุ้งแก้ว 2 ไร่ เก็บขายได้วันละพัน article
เยี่ยมไร่เมล่อนกำแพงแสน ดูเทคนิคการผลิตเมล่อนให้หวานอร่อย
เกษตรกรเมืองโอ่งเพาะเห็ดหูหนูขาย สร้างรายได้กว่าหมื่นบาทต่อวัน article
เทคนิคการปลูกแตงไทยแบบง่ายๆ article
มะนาวนิ้วมือหรือมะนาวคาเวียร์ เปรี้ยวอย่างมีสีสันเพิ่มมูลค่าอาหารให้ดูไฮโซ article
ชมพู่ทับทิมจันท์....สวนดังของราชบุรี ชมพู่คุณภาพส่งจีน article
เยี่ยมสวนฝรั่ง..มืออาชีพที่บ้านแพ้วเงินล้านจากฝรั่งทำไม่ยาก article
กล้วยตัดใบแหล่งใหญ่ของประเทศ พื้นที่ปลูกนับ 10,000 ไร่ ก้าวไกลสู่ตลาดโลก article
ปลูกข่าเหลือง พืชเศรษฐกิจทำเงินที่น่าลงทุน ปลูกง่าย รายได้ดี 5-8 หมื่นบาท/ไร่ article
พังกาลอดฟาร์ม...พลิกฟื้นชาวสวนยาง ด้วยธุรกิจนกกระทาผลิต 80,000 ตัว/เดือน article
วิธีปลูกผักกาดหอมหรือผักสลัด พืชมากคุณประโยชน์ article
วิธีการปลูกผักบุ้งจีน ผักแคลเซียมสูง ปลูกง่ายเจริญเติบโตไว article
วิธีการปลูกผักชี ผักที่ปลูกง่าย ตลาดต้องการสูง article
วิธีปลูกข้าวโพดสีม่วง ปลูกง่าย รายได้ดี article
ปลูกผักคะน้าเกษตรอินทรีย์ ขายดี ราคาดี ไม่มีคู่แข่ง article
ขนุนทวาย พันธุ์ปิยะมาดา เปลือกบางยางน้อย ให้ผลดก article
เพาะพันธุ์สับปะรดสี ใช้พื้นที่น้อย รายได้ดี ปลูกง่าย รายได้หลักหมื่น article
กุ้งก้ามแดง สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ในนาข้าว กก.ละ 400-500 บาท อาชีพพลิกฟื้นฐานะของชาวนาไทย article
มาริสาฟาร์ม … ฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นคุณภาพ article
การปลูกมะม่วงในวงบ่อปลูกไม่ยาก ให้ผลผลิตดี article
‘สาคู’พืชเศรษฐกิจช่องทางรวยของภาคใต้ article
เกษตรในเมือง....ปลูกผักบนดาดฟ้าอาคารสำนักงานแบบ DIY article
การปลูกพริก และประโยชน์ของพริก article
เทคนิคการปลูกมะละกอ 8ไร่ 2.5แสน ในช่วงเวลา 2 เดือน article
เทคนิคการปลูกผักในร่ม ใต้โคนต้นไม้ใหญ่ article
โรคผลเน่าของแคนตาลูป article
ทำไมบางคนใช้ยาแล้วได้ผล บางคนไม่ได้ผล ทั้งที่มันเป็นยาตัวเดียวกัน ?? article
การปลูกผักหลังน้ำท่วม article
การอนุรักษ์ดินบนพื้นที่ลาดเท article
วิธีพัฒนาที่ดินตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง article
สับปะรดแปรรูป สามร้อยยอดเพิ่มมูลค่าสับปะรดไทย ครองแชมป์ตลาดสากล
ปลูกตะไคร้ ป้อนตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่งออกปีละไม่ต่ำกว่า 50 ตัน article
เทคนิคการขยายพันธุ์มะนาว เพิ่มปริมาณกิ่งพันธุ์สูงสุด ด้วยกิ่งติดใบเพียงใบเดียว article
เผือกหอม พืชหลังนา สร้างรายได้งามของคนบ้านหมอ สระบุรี article
ปลูกแตงกวา ระบบน้ำหยด ที่ไร่ “ศุภโชค หินเบี้ย” จ.เพชรบูรณ์ article
อะโวคาโด...พืชเศรษฐกิจนอกสายตา ตลาดต้องการสูง ราคาแพง 50-60 บาท/กก. article
พลิกดินอีสานปลูกปาล์มน้ำมัน ที่หนองบัวลำภู ของเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ article
สวนกายกานต์ ….ปลูกตะไคร้กว่า 100 ไร่ ป้อนตลาดครบวงจร ทั้งกินสด ส่งโรงงาน ส่งออก อาทิตย์ละ 10 ตัน article
เทคนิคการทำมะนาวนอกฤดูในวงบ่อ ของสวนมะนาวแป้นท้ายไร่ ที่พิจิตร article
ลูกหม่อน อีกหนึ่งพืชเพื่อสุขภาพกระแสแรง article
เห็ดแครง…เห็ดเศรษฐกิจมาแรง ราคาแพง 150-200 บาท/กก. ตลาดต้องการสูง article
แหล่งผลิตกล้วยหอมทองส่งญี่ปุ่นแห่งใหม่ พื้นที่ปลูกกว่า 100 ไร่ ในพื้นที่ปลูก 7 จังหวัด article
เกษตรกร กำแพงแสน ปลูกกระชายส่งขาย สร้างรายได้หมุนเวียนตลอดปี article
มะนาวแป้นพิจิตร เน้นทำนอกฤดู ขายช่วงแพง ฟันกำไร article
ปลูกมะละกอ ส่งมะละกอป้อนตลาดวันละ 20 ตัน article
ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์100 ไร่ ผลผลิตกว่า 1,500 ตัน article
ปลูกแก้วมังกร 1,500 ไร่ สร้างรายได้มหาศาล
เยี่ยมสวนมะกรูด ผลิตใบมะกรูดคุณภาพป้อนตลาดส่งนอก
หน่อไม้ฝรั่งส่งญี่ปุ่น ทำเงินสะพัด พลิกฐานะชั่วข้ามปี article
กุยช่าย พืชทำเงินของคนเมืองโอ่ง
ต้นเหตุของดินเสื่อม article
ปลูกหญ้าแฝก พืชมหัศจรรย์ ช่วยรักษาหน้าดินและสิ่งแวดล้อม article
จะลงทุนภาคการเกษตรอย่างไร ? ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC article
ราคาผัก ผลไม้กำหนดจากอะไร…ทำไมราคาจากสวนจึงต่างจากราคาตลาดมาก article
มาริสสาฟาร์ม … ฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่นคุณภาพ article
เทคนิคผลิตเมล่อนเกรดพรีเมี่ยม ส่งแม็คโครสัปดาห์ละ 2 ตัน article
เยี่ยมสวนมะพร้าวน้ำหอมส่งนอก 60 ไร่ สร้างอาชีพยั่งยืนนานกว่า 20 ปี article
ปลูกแตงกวาไร่เดียว ฟันเงินกว่า 70,000 ลงทุนแค่ 13,000 article
ปลูกดอกสลิดสร้างรายได้ช่วงหน้าหนาวราคาพุ่ง กก. 120-130 บาท article
เทคนิคเพาะเห็ดนางฟ้าขายช่วงราคาแพง จากสมบูรณ์ฟาร์ม จ.ขอนแก่น article
มันสำปะหลัง ระบบน้ำหยด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต article
โกลบอล ออร์แกนิคส์ ส่งมะละกอป้อนห้างวันละกว่า 10 ตัน article
ธ.ก.ส ปล่อยกู้ 10,000 ล้านบาท ช่วยเกษตรกรแก้หนี้นอกระบบ article
พริกไทย..พืชเศรษฐกิจใหม่สร้างรายได้นับล้าน ที่สุโขทัย article
วิเคราะห์ตลาดมะละกอสุกก่อนลงทุน article
มาตรการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ article
เยือนแหล่งปลูกกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่ นับ 1,000 ไร่ article
ขนุน...พืชทำเงินของชาว จ.ระยอง ส่งออกต่างประเทศ article
มารู้จักกับโรคทางดิน(โรคเหี่ยว โรคเน่า) กันค่ะ article



Copyright 2020 S.P. HARDWARE IMPORT EXPORT Co.,Ltd. All rights reserved.